การเงินเศรษฐกิจ

เงินคนพิการ เดือนสิงหาคม 2566 เช็กวันโอนเงิน ตรวจสอบสิทธิที่นี่

เงินคนพิการ ประจำเดือนสิงหาคม 2566 ทุกวันที่ 10 ของเดือน เข้าบัญชีกลุ่มเปราะบางจำนวนเงินเท่าไหร่ สามารถถอนเป็นเงินสดและสะสมในเดือนถัดไปได้ไหม ตรวจสอบสิทธิที่นี่

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง แจ้งโอนเงิน “เบี้ยคนพิการ” ที่ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าบัญชีกลุ่มเปราะบางประจำเดือนสิงหาคม 2566 ทุกวันที่ 10 ของเดือน จำนวนสูงสุด 800 บาท สำหรับกำหนดการโอนเบี้ยความพิการให้กับกลุ่มเปราะบางประจำเดือนสิงหาคมนี้ กำหนดจ่ายในวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 ทั้งนี้ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินคนพิการจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

เงื่อนไขรับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง เงินคนพิการ มีอะไรบ้าง

เงื่อนไขการรับเงินเบี้ยความพิการประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ต้องเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินจำนวน 800 – 1,000 บาท โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มช่วงอายุ ดังนี้

1. ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาท

2. ผู้พิการที่อายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 800 บาท

นอกจากที่ผู้พิการจะได้รับเงินรายเดือนแล้ว สำหรับผู้พิการที่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่ในมือ จะได้เงินเพิ่มอีก 200 บาท โดยจะโอนเข้าในบัตรสวัสดิการรัฐ ในวันที่ (หาก่อน) สามารถถอนเงินได้ที่ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาและสะสมในเดือนถัดไป

เบี้ยความพิการ เดือนสิงหาคม 2566

วิธีสมัครลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้พิการ ประจำปี 2566

สำหรับเบี้ยยังชีพคนพิการ ตามมติการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2564 ได้เห็นชอบการปรับเพิ่มสวัสดิการเบี้ยความพิการจาก 800 บาทต่อคน ต่อเดือน เป็น 1,000 บาทต่อคน ต่อเดือน ในส่วนของกลุ่มคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ แต่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งคนพิการทุกคนที่มีสมุด หรือบัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับเบี้ยความพิการได้

1. สถานที่จดทะเบียน

  • สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 628-2518-9
  • สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่

2. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน

  • เอกสารรับรองความพิการ สามารถขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
  • ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัว ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน
  • ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

3. เอกสารที่ใช้ในกรณีจดทะเบียนแทน

  • ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้
  • ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
  • ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือหนังสือรับรองจากทางราชการ ซึ่งขอได้จากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ เป็นต้น
  • คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้คนพิการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ
  • คำสั่งศาลเรื่องการจัดตั้งผู้ปกครองคนพิการ ในกรณีที่คนพิการไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองคนพิการ
  • สมุดประจำตัวคนพิการ สำหรับคนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ ซึ่งต้องนำไปแสดงเพื่อขอยื่นจดทะเบียนใหม่

เบี้ยความพิการ สิงหาคม 2566

เปิดปฏิทิน เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง ประจำปี 2566

  • มกราคม 2566 จ่ายวันที่ 10 มกราคม 2566
  • กุมภาพันธ์ 2566 จ่ายวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
  • มีนาคม 2566 จ่ายวันที่ 10 มีนาคม 2566
  • เมษายน 2566 จ่ายวันที่ 10 เมษายน 2566
  • พฤษภาคม 2566 จ่ายวันที่ 10 พฤษภาคม 2566
  • มิถุนายน 2566 จ่ายวันที่ 9 มิถุนายน 2566
  • กรกฎาคม 2566 จ่ายวันที่ 10 กรกฎาคม 2566
  • สิงหาคม 2566 จ่ายวันที่ 10 สิงหาคม 2566
  • กันยายน 2566 จ่ายวันที่ 8 กันยายน 2566
  • ตุลาคม 2566 จ่ายวันที่ 10 ตุลาคม 2566
  • พฤศจิกายน 2566 จ่ายวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566
  • ธันวาคม 2566 จ่ายวันที่ 8 ธันวาคม 2566
เงินคนพิการ สิงหาคม 2566 เข้าวันไหน
ภาพจาก Facebook Page : กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินคนพิการ สามารถติดต่อได้ที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เลขที่ 255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 ติดต่อ 1479 หรือ โทร 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313

Wilasinee

นักเขียนออนไลน์ผู้เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ แฟชั่น จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *